“รู้หรือไม่ จัดการภาษีดีมีเงินเพิ่มในกระเป๋า!!
รวบรวมมาให้แล้ว วิธีลดหย่อนภาษี วางแผนดีมีเพิ่มเงินในกระเป๋า
การจ่ายภาษีนั้นคือหน้าที่ของพลเมืองไทยที่มีเงินได้ทุกคน หากไม่จัดการให้ดีและยื่นไม่ตรงเวลา อาจทำให้ต้องเสียเบี้ยปรับและพลาดโอกาสการลดหย่อนภาระทางภาษีลงได้ โดยการวางแผนภาษี ช่วยให้เราได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ทำให้เรามีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้นอย่างที่เราไม่รู้ตัวได้
การวางแผนภาษีนั้น เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจรายละเอียดหลัก ๆ 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่
1. รู้เรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2. รู้จักสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวกับการลดหย่อนต่าง ๆ ดังนี้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร?
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีทางตรงที่บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้จะต้องแจ้งเสียภาษีทุก ๆ ปี โดยวิธีการคำนวณเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นจะคำนวณด้วยวิธีดังนี้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ (เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย- ค่าลดหย่อนภาษี และเงินบริจาค) x อัตราภาษี อัตราก้าวหน้า 5% - 35 % ของเงินได้สุทธิ
การวางแผนภาษีเป็นการวางแผนจัดการเงินค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และเงินบริจาคตามที่กฎหมายสนับสนุน เพื่อใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจากการจ่ายเงินเหล่านั้น ยิ่งหักลดหย่อนได้มากเงินได้สุทธิที่จะนำไปคูณอัตราภาษีก็จะยิ่งลดลง และเสียภาษีน้อยลงได้ตามกฎหมายนั่นเอง
ถ้าไม่วางแผนภาษี =เสียภาษีมาก วางแผนภาษีคือลดภาษี ทั้งนี้รายได้บุคคลธรรมดาที่ต้องนำมาคำนวณภาษีมีอยู่ 8 ประเภท แบ่งตามอาชีพและต้นทุนในการประกอบอาชีพที่แตกต่างกันไปเพื่อความเป็นธรรมในการคำนวณและจ่ายภาษีมากที่สุด โดยแบ่งเป็นดังนี้
1. เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้างเป็นต้น หรือ เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น มูลค่าของการได้รับประทานอาหาร เป็นต้น
2. เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำเป็นต้น หรือจากการรับทำงานให้ เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว
การหักค่าใช้จ่าย
ทั้งสองประเภทแรก หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท
หากมีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภท
รวมกันแต่หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท
3. เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
การหักค่าใช้จ่าย
50% ไม่เกิน 100,000 บาท หรือตามจริง
4. เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น โดยเงินได้ประเภทนี้หลายกรณีกฎหมายให้สิทธิเสียภาษีโดยการหัก ณ ที่จ่ายแทนได้ ซึ่งช่วยประหยัดไปได้อีกระดับหนึ่ง
การหักค่าใช้จ่าย หักค่าใช้จ่ายไม่ได้
5. เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
การหักค่าใช้จ่าย ตามจริงหรืออัตราเหมา
6. เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
การหักค่าใช้จ่าย ตามจริงหรืออัตราเหมา
7. เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
การหักค่าใช้จ่าย ตามจริงหรืออัตราเหมา 60%
8. เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว
การหักค่าใช้จ่าย ตามจริงหรืออัตราเหมา
รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.rd.go.th/556.html
แล้วอะไรบ้างนะที่นำไปลดหย่อนภาษีได้??
ค่าลดหย่อนภาษีมี 3 ส่วน คือ
1. สิทธิลดหย่อนขั้นพื้นฐานของชีวิต เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ค่าดูแลพ่อแม่และบุตร ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย
2. สิทธิลดหย่อนเพื่อการบริจาคเงินให้องค์กรการกุศลหรือสนับสนุนการศึกษา ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษีสำหรับเงินบริจาคทั่วไป ส่วนเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม ประโยชน์สาธารณะ และสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี ทั้งนี้รายชื่อหน่วงานมูลนิธิ สมาคม สถานสาธารณกุศลที่ลดหย่อนภาษีได้ ท่านสามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ของสรรพากรได้เลย ตรวจสอบรายชื่อ
3. สิทธิลดหย่อนเพื่อการออมและลงทุน กองทุนต่าง ๆ และเงินสะสม และประกันต่าง ๆ
โดยค่าลดหย่อนภาษี ปี 2566 กลุ่มประกัน เรารวบรวมมาให้แล้วดังนี้
ประกันชีวิต และประกันสะสมทรัพย์ หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์แล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
ประกันสังคม หักค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท
ประกันสุขภาพบิดามารดา หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท และบิดามารดา มีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี ซึ่งไม่ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไปก็ได้
ประกันชีวิตแบบบำนาญ หักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
หลังจากที่เราหักค่าใช้จ่ายและวางแผนเรื่องค่าลดหย่อนได้ครบถ้วนแล้ว มาคำนวณภาษีกันค่ะ
วิธีการคำนวณภาษี
เมื่อได้ยอดเงินได้สุทธิ ซึ่งเป็นฐานภาษีเพื่อการคำนวณภาษีสำหรับบุคคลธรรดาและหักหักค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อนภาษีต่างๆ เรียบร้อยแล้วก็นำยอดดังกล่าวมาคูณกับอัตราภาษีก้าวหน้า ทั้งนี้หากเงินได้สุทธิอยู่ที่ 0-150,000 บาทต่อปี จะได้รับการยกเว้นอัตราภาษี และหากมียอดเงินได้สุทธิสูง อัตราภาษีก็จะสูงขึ้นด้วย ดังนี้
150,001 – 300,000 บาท อัตราภาษี 5 %
300,001 – 500,000 บาท อัตราภาษี 10 %
500,001 – 750,000 บาท อัตราภาษี 15 %
750,001 – 1,000,000 บาท อัตราภาษี 20%
1,000,001 – 2,000,000 บาท อัตราภาษี 25 %
2,000,000 – 5,000,000 บาท อัตราภาษี 30 %
5,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35 % ขึ้นไป
ในบทความนี้ ขอแนะนำวิธีการประหยัดภาษีด้วยการนำค่าลดหย่อนในหมวดประกันมาช่วยให้ผู้อ่านที่กำลังวางแผนภาษีได้ประหยัดกันแบบมีความคุ้มครองชีวิตด้วย และใครที่กำลังมองหา และกำลังสงสัยว่าจะซื้อประกันตัวไหนดี ที่จะช่วยลดหย่อนภาษี วันนี้เรามีข้อเสนอดี ๆ มาฝากกันด้วยสองตัวในหมวดประกันชีวิตที่ช่วยลดหย่อนไม่เกิน 100,000 บาท คือ
ประกันสะสมทรัพย์ แบบ 15/25 (์Non Par)
ประกันชีวิตเพื่อการสะสมทรัพย์ คุ้มค่าเงินออม คุ้มครองแบบปลอดภัย ส่งเบี้ย 15 ปี คุ้มครอง 25 ปี ผลประโยชน์มีเงินคืนทุกปี เริ่มจากปีที่ 2-23 ครบสัญญารับเงินคืน
เหมาะกับคนที่ทั้งวางแผนภาษีด้วย และอยากมีความคุ้มครองที่คุ้มค่า รายละเอียดเบี้ยขึ้นอยู่กับอายุ และเพศ
ประกันสะสมทรัพย์ AIA Saving Sure ส่งสั้น 10 ปี คุ้มครองยาวถึง 99 ปี รับเงินคืนยาว ๆ ตั้งแต่อายุ 60 ปีถึงอายุ 98 ปี พิเศษ กับเงินคืนขั้นบันได 12-26% ยิ่งอยู่นานยิ่งได้มาก ประโยชน์สูงสุด 820% ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทตามจำนวนที่จ่ายจริง หากมีประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ก็จะลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
ในส่วนของการประหยัดภาษีอีกหมวดที่น่าสนใจไม่น้อยและหลายคนอาจกำลังมองข้ามไปคือ หมวดประกันบำนาญ
ประกันบำนาญ AIA Annuity Sure เกษียณสบายมีเงินใช้ชัวร์ ได้เงินบำนาญรายปี 15% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย รับเงินยาว ๆ ตั้งแต่ 60-90 ปี ผลประโยชน์สูงสุดถึง 450% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
เลือกส่งได้ ระยะสั้น 9 ปี หรือจะเลือกส่งระยะยาวถึงอายุ 60 ปี สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับสิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ อย่างเช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญ RMF หรือ SSF ฯลฯ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท ทั้งนี้หากเราซื้อประกันชีวิตบำนาญเกินกว่าสิทธิ์ลดหย่อนภาษีที่กำหนดไว้ 200,000 บาท เราสามารถแบ่งเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญนี้ไปใช้โควตาของเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปให้ครบสิทธิ์ 100,000 บาทได้ด้วย เท่ากับว่าลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิตแบบบำนาญได้สูงสุดถึง 300,000 บาทเลยทีเดียว
เรียกว่าได้วางแผนชีวิตบั้นปลายด้วยความรอบคอบ มีประกันดี ๆ คุ้ม ๆ คุ้มครองตลอดชีวิต และยังลดหย่อนภาษีได้ถึงหลักแสนแบบนี้ หาคุ้มกว่านี้ไม่ได้แล้ว
ตัวอย่างของพนักงานเงินเดือนที่มีรายได้ฐาน 30%
ประเมินเงินได้สุทธิเพื่อคำนวณภาษี
เงินได้ทั้งหมด 3,500,000 บาท
ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาท
1.ค่าลดหย่อน 60,000 บาท
เงินได้สุทธิ 3,340,000 บาท
เท่ากับมีเงินได้สุทธิ เสียฐานภาษีในช่วงเงินได้สุทธิ 2,000,000 – 5,000,000 บาท อัตราภาษี เท่ากับ 30 %
2.ค่าลดหย่อนหมวดประกัน
ประกันสังคม 9,000 บาท
ประกันชีวิต 75,000 บาท
ประกันสุขภาพ 25,000 บาท
ประกันบำนาญ 200,000 บาท
รวมเป็นเงินลดหย่อนหมวดประกัน 309,000 บาท
ยอดเงินได้สุทธิที่นำไปคำนวนภาษีโดยก่อนวางแผนลดหย่อนประกัน โดยใช้แค่ค่าลดหย่อนส่วนตัวและประกันสังคมคือ
3,400,000-69,000 = 3,331,000 บาท
ก่อนวางแผนประกัน เสียภาษี จากการคำนวณดังนี้
150,001-300,000 ฐาน 5 =7,500 บาท
300,001-500,000 ฐาน 10 =20,000 บาท
500,001-750,000 ฐาน 15= 37,500 บาท
750,001-1,000,000 ฐาน 20=50,000 บาท
1,000,000-2,000,000 ฐาน 25=250,000 บาท
2,000,001-5,000,000 ฐาน 30 =399,300 บาท (1,331,000x30%)
รวมเงินได้สุทธิที่เสียภาษี
ก่อนที่จะวางแผนประหยัดภาษีด้วยค่าลดหย่อนหมวดประกัน ทั้งหมด 764,300 บาท
มาดูว่าถ้าวางแผนประหยัดภาษีด้วยประกันชีวิตและบำนาญจะประหยัดภาษีได้กี่บาท
หลังวางแผนประหยัดภาษีกับประกันชีวิตและประกันบำนาญ รวมกับประกันสังคม ได้ตัวเลขค่าลดหย่อนทั้งหมด 369,000 บาท
เงินได้สุทธิ = เงินได้ทั้งหมด- ค่าใช้จ่ายส่วนตัว -ค่าลดหย่อนส่วนตัวและค่าลดหย่อนหมวดประกัน
เงินได้สุทธิ = 3,500,000-100,000-60,000-309,000=3,031,000
นำมาคำนวณภาษีได้ตามสูตรอัตรภาษีก้าวหน้า สามารถคิดได้จากด้านบนแล้วหักลดหย่อนเพิ่มเติม ทำให้เงินได้สุทธิหลังหักค่าลดหย่อนหมวดประกันเพิ่ม ทำให้เสียภาษีลดลดลง ซึ่งจะเสียภาษีเพียง 674,300 บาท
จะเห็นได้ว่าตัวเลขก่อนวางแผนภาษีด้วยหมวดประกันเสียภาษีมากกว่าหลังการวางแผน ทำให้ มีเงินเพิ่มในกระเป๋า 90,000 บาท!!! ดีแบบนี้นี่เองการวางแผนลดหย่อนด้วยประกัน
ยิ่งไปกว่านั้นในแต่ละปีภาครัฐอาจมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการให้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีเพิ่มด้วย เราจึงควรติดตามข่าวสารสม่ำเสมอเพื่อวางแผนการลงทุนต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับรายได้ของเรากันด้วยนะ
และในปี 2566 ภาครัฐออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนในการให้สิทธิประโยชน์ซื้อกองทุน ชื่อว่ากองทุน ThaiESG ลดหย่อนเพิ่มเติมได้อีก 100,000 บาท
สามารถหารายชื่อกองทุนได้จากบลจ.ต่าง ๆ ที่ออกมารองรับในช่วงปลายปีนี้
ลดหย่อนทั้งทีก็ต้องวางแผนกันหน่อยยย ลดให้ดีก็ต้องมีความคุ้มครองชีวิตกันนะค๊า
อย่าลืมนะ วางแผนภาษีคืนลดภาษี และหากเข้าใจแล้ว เราสามารถทดลองวางแผนภาษีของตัวเองได้ง่าย ๆ ผ่านโปรแกรมวางแผนประหยัดภาษี ส่วนการยื่นภาษีนั้นปัจจุบันเราสามารถยื่นแบบแสดงรายการผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร และควรรีบยื่นแบบแสดงรายการตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมกราคม ซึ่งจะทำให้ได้เงินคืนภาษีเร็ว เพราะเป็นช่วงที่คนยื่นน้อย และระวังอย่ายื่นเกินกำหนดเพราะอาจมีค่าปรับสูงถึง 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระเพิ่มได้เลยทีเดียว
โดยวันนี้เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านจะได้รับข้อมูลดี ๆ ไปไว้วางแผนจัดการภาษีของตนเอง และอย่าลืมว่าวางแผนภาษีคือลดภาษี ยิ่งรายได้มาก การทำประกันดี ๆ เอาไว้ยิ่งคุ้มค่าเพราะสามารถหักลดหย่อนได้ตามจริงในทุกปี วางแผนคุณภาพชีวิตดี ๆ ไว้ให้ตัวเองในระยะยาวแบบนี้รับรองว่าสุขภาย สบายใจ เงินเหลือใช้ในกระเป๋าเพิ่มขึ้นแน่นอน
สนใจวางแผนประกันเพื่อลดหย่อนภาษีคลิกที่ช่องทางการติดต่อด้านบนได้เลยค่ะ
แหล่งอ้างอิง
https://www.set.or.th/th/education-research/education/happymoney/tax
https://www.set.or.th/th/education-research/education/happymoney/insurance
https://www.setinvestnow.com/th/financialplanning/tax-planning-tips
https://www.rd.go.th/557.html