ประกันมรดก ปลอดภาษี

ประกันมรดก ปลอดภาษี

        การส่งต่อมรดกนั้น   มีหลายรูปแบบ   การจัดการให้เรียบร้อยก่อนเราจะเสียชีวิตลง  จึงเป็นความสำคัญ   ประหยัดเวลาการจัดการเอกสารต่าง ๆ ในอนาคต   ทรัพย์สินที่เรามี  จึงต้องมีการระบุให้ชัดเจน   หากเสียชีวิตโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้   มรดกจะเป็นของใคร  ถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้

        คำตอบคือ  จะตกทอดเป็นของทายาทโดยธรรม   6 ลำดับดังนี้

1ผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน ลื้อ

2.บิดามารดา

3.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

4.พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

5.ปู่ ย่า ตา ยาย

6.ลุง ป้า น้า อา

      คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีชีวิตอยู่ก็เป็นทายาทโดยธรรม

      ซึ่งขั้นตอนในการจัดการมรดกโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมนั้น  ใช้เวลาในดำเนินการ 

      อย่าคิดว่าการทำพินัยกรรม  คือ  ลางไม่ดี   การเตรียมเขียนพินัยกรรมไว้จึงเป็นทางออกอีกวิธี   ที่คนเลือกทำก่อนเสียชีวิต

 

การเขียนพินัยกรรมมีกี่วิธี
การเขียนพินัยกรรมนั้น  มี 5 วิธี

1.    พินัยกรรมแบบธรรมดา
●       ต้องทำเป็นหนังสือ โดยจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้
●       ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำ
●       ต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน โดยจะลงลายมือชื่อหรือพิมพ์นิ้วมือก็ได้

2.พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
●       ต้องเขียนด้วยลายมือของตนเองทั้งฉบับ ใช้พิมพ์ไม่ได้
●       จะมีพยานหรือไม่มีก็ได้
●       ต้องลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำ
●       ต้องลงลายมือชื่อ จะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือหรือเครื่องหมายอื่นไม่ได้

3.พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง
ยื่นคำร้องขอให้นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต ณ อำเภอหรือเขตใดก็ได้ ดำเนินการให้

4.พินัยกรรมทำแบบเอกสารลับ
ยื่นคำร้องขอให้นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต ณ อำเภอหรือเขตใดก็ได้  โดยปฏิบัติดังนี้

●       ต้องมีข้อความเป็นพินัยกรรมและลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม
●       ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรม แล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึก
●       ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้น ไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอย่างน้อย 2 คน
●       เมื่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขตจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม และวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมมาแสดงไว้ในซองพับและประทับตราประจำตำแหน่งแล้ว นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต ผู้ทำพินัยกรรม และพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น

5. พินัยกรรมทำด้วยวาจา
      ใช้เฉพาะกรณีที่เกิดเหตุการณ์พิเศษ ไม่สามารถทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตราย ใกล้เสียชีวิต เกิดโรคระบาด หรือ สงคราม ทั้งนี้ พินัยกรรมจะหมดอายุภายใน 1 เดือนนับจากผู้ทำพินัยกรรมกลับมาทำพินัยกรรมแบบอื่นได้
●       แสดงเจตนาต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น
●       พยานทั้งหมดต้องไปแสดงตนและแจ้งให้นายอำเภอทราบถึงข้อความพินัยกรรม และสาเหตุที่ต้องทำพินัยกรรมด้วยวาจา

       สำหรับพินัยกรรมประเภทที่ 3-5  จะเป็นการทำที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายบ้านเมือง  วิธีที่ 1-2 สามารถทำได้เอง  

       การทำพินัยกรรมจัดการมรดก  มีเรื่องของการเสียภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  การวางแผนมอบมรดกจึงต้องนำเรื่องนี้เข้ามาเกี่ยวข้อง   เรียกว่าเสียภาษีมรดก

●       ภาษีมรดก เกิดขึ้นเมื่อมีการเสียชีวิตของเจ้าของมรดกและส่งต่อทรัพย์สินไปตามพินัยกรรม ซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีมรดก จะเสียเฉพาะส่วนเกิน 100 ล้านบาท ในอัตรา 10% เมื่อผู้รับมรดกเป็นบุคคลธรรมดา เช่น ผู้รับตามพินัยกรรม หรืออัตรา 5% เมื่อผู้รับมรดกเป็นบุพการีหรือทายาท โดยถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้คำนวณจากราคาประเมิน ส่วนหลักทรัพย์ให้คำนวณจากราคาปิดตลาดในวันที่ได้รับมรดก (ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เวปไซต์ของกรมสรรพากร) 

 

การเลือกส่งต่อมรดกเป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี

หากมีมรดกจำนวนมากและไม่สามารถทยอยมอบให้ในเร็ววันได้  ก็ควรเปลี่ยนทรัพย์สินที่เสียภาษีมรดกเป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี   เช่น   การทำประกันชีวิตเพื่อรับสินไหมมรณกรรม โดยระบุผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์เป็นทายาทที่เราต้องการมอบทรัพย์สินก้อนสุดท้ายไว้ให้        เพราะประกันชีวิตคือสินค้าที่ปลอดภาษี เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในขณะหรือภายหลังผู้เอาประกันเสียชีวิต  ซึ่งได้รับการยกเว้นตามมาตรา  42(13)แห่งประมวลรัษฎากร

            สำหรับใครที่สนใจอยากให้ช่วยวางแผนการจัดการมรดกในด้านการประกันชีวิต  ติดต่อสอบถามได้ทุกช่องทางตามลิงค์ที่ด้านล่าง

 098-8245069

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้