ความดันโลหิตสูงคือค่าที่เท่าไหร่
ค่าความดันปกติจะอยู่ที่ตัวบนประมาณ 120-130
ความดันตัวล่างประมาณ 70-80 ถ้าเราวัดค่าความดันตัวบนได้ที่ 145 ซึ่งถือว่าสูงกว่าปกติ และความดันตัวล่างได้ค่าที่ เกิน 90 เรียกว่าสูงกว่าปกติ
ความดันโลหิตสูงก่อให้เกิดผลกระทบแล้วเป็นโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา
● เส้นเลือดในสมองแตกก็เป็นได้ ทำให้เป็นโรคอัมพฤกต์ อัมพาต จัดอยู่ในกลุ่มโรคร้ายแรง
● โรคหัวใจ อาจทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดอาการเจ็บหน้าอกและกล้ามเนื้อหัวใจตาย จัดอยู่ในกลุ่มโรคร้ายแรง
● หรือหากหลอดเลือดที่หัวใจอุดตัน เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอทำให้หัวใจวายได้
ความดันโลหิตสูงแบ่งเป็น 2 ประเภท
ทั้งประเภทที่ไม่ทราบสาเหตุ
และที่ทราบสาเหตุ
ผู้มีความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะเริ่มในอายุประมาณ 35 ปี ถ้าเกิดในอายุน้อยมักจะทราบสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ทราบสาเหตุ อาการที่พบมีดังนี้ ได้ยินเสียงดังในหู ปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย มีอาการเวียนศีรษะ มีเลือดกำเดาออก การเต้นของชีพจรจะผิดปกติ หงุดหงิดง่าย ขาบวม เหนื่อยง่ายผิดปกติ เป็นต้น
โรคความดันโลหิตสูงมากกว่าร้อยละ 95 ไม่ทราบสาเหตุ จึงมองว่าเป็นเรื่องของพันธุกรรม ถ้าพ่อหรือแม่เป็นความดันโลหิตสูง ลูกก็มีโอกาสเป็นมากกว่าคนที่พ่อแม่ไม่เป็นความดันโลหิตสูง และสิ่งแวดล้อม เช่น ความเครียด การรับประทานอาหารเค็ม สูบบุหรี่ ไม่ได้ออกกำลังกาย การรักษาจึงต้องควบคุมโดยการใช้ยาและต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิต
ส่วนโรคความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ แพทย์จะรักษาไปตามอาการ เช่น ความดันในกะโหลกศีรษะสูง เนื่องมาจากมี เนื้องอกในสมอง ทำให้ปวดศีรษะตามัวได้ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนจะทำให้ความดันสูงได้ ถ้าได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเอาเนื้องอกออก ความดันในกะโหลกศีรษะไม่สูงแล้ว ความดันก็จะลงสู่ปกติ โรคไต ไตวายเรื้อรัง เราไม่สามารถรักษาได้ นอกจากผ่าตัดเปลี่ยนไต ความดันโลหิตสูงก็ลดลงได้ จากการรับประทานยาที่ทำให้เกิดความดันเลือดสูงได้เช่นกัน เช่น รับประทานยาแก้ปวดไขข้อ เป็นต้น
ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง?
ปรับเปลี่ยนพฤิตกรรมในชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่รสไม่จัด
การพักผ่อน นอนให้เพียงพอ
การออกกำลังกายที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป ไม่หักโหม
ความเครียด ลดความเครียดลง เพราะมันคือส่วนประกอบในการเป็นความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก่อให้เกิดผลกระทบ ทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้ เช่น โรคทางสมอง หรือโรคทางกลุ่มหัวใจ
ใครที่สะสมพฤิตกรรม จำพวก นอนไม่พอ นอนน้อย ทานอาหารที่ไม่เกิดประโยชน์
ไม่ออกกำลังกาย และสะสมความเครียดไว้ จัดอยู่ในภาวะเสี่ยงของการเป็นความดันโลหิตสูงได้
รวมถึงอาจก่อให้เกิดผลของโรคร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคทางสมอง หรือโรคหัวใจ
ใครที่รู้แบบนี้แล้ว มาสร้างพฤติกรรมดีกันเถอะ เพื่อสุขภาพที่ดีของเรา
และอย่าลืมว่าปัจจัยเสี่ยง ที่คุมได้คือ พฤติกรรม ยังมีเหลือที่เราควบคุมไม่ได้ อีกหลายอย่าง
อย่าลืมวางแผนสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับตัวเรา เผื่อเกิดเหตุกันด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจและยังมีคำถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามกันเข้ามาได้ค่ะ
ยินดีให้คำแนะนำนะคะ เรามีบริการช่องทางการสื่อสารขึ้นในเวปแล้ว สะดวกช่องทางไหน ติดต่อกันเข้ามาได้ค่ะ